เมื่อน้องแมวเป็นโรคติดเชื้อไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สาเหตุของโรค : โรคนี้เป็นโรคติดต่อในแมว หรือเรียกกันว่า ลิวคิเมียในแมว
มีสาเหตุมาจากไวรัส ชื่อ Feline Leukemia Virus (FeLV)
ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับไวรัสเอดส์แมวค่ะ (FIV) ไวรัสชนิดนี้ติดต่อเฉพาะในสัตว์ตระกูลแมวเท่านั้นค่ะ ดังนั้นไม่ต้องกังวลนะคะว่าจะติดคน (ทั้งเอดส์แมวและลิวคิเมียแมว ไม่ติดคนค่ะ)
การติดต่อ : ติดผ่านการกัดกัน ผ่านรก ผ่านน้ำนมจากแม่แมวไปสู่ลูกแมว ใช้ชามน้ำชามอาหารร่วมกัน เลียให้กัน ใช้สถานที่ขับถ่ายร่วมกัน
อาการของโรค : ซึม น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต ช่องปากอักเสบ
ในบางตัวอาจมีไข้เรื้อรัง
ในแมวที่ติดเชื้อพบการตายแรกคลอดและการแท้งสูงกว่าแมวปกติ
บางตัวอาจมีอาการชัก เดินเซ อาจเกิดเนื้องอกตามส่วนต่างๆของร่างกาย
มีภาวะโลหิตจาง ภาวะภูมิคุ้มกันถูกกดและติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวของเราติดโรค : วิธีการตรวจที่นิยม สะดวก รวดเร็ว
คือการใช้ชุดตรวจสำเร็จรูปหาองค์ประกอบของเชื้อไวรัส ซึ่งทำได้ง่าย
ไม่ยุ่งยาก รอผลตรวจไม่นาน แต่มีข้อเสียคืออาจให้ผลลบลวง
ในกรณีที่แมวกำลังป่วยอยู่ในระยะแฝง ดังนั้นกรณีตรวจออกมาแล้วให้ผลลบ
ควรตรวจซ้ำอีกครั้งห่างจากครั้งแรกที่ 3-6 เดือน
นอกจากนั้นการวินิจฉัยโรคยังต้องอาศัยผลเลือดอื่นๆและอาการทางคลินิกร่วม
ด้วย
การดูแลแมวป่วย :
ควรแยกเลี้ยงแมวป่วยจากแมวตัวอื่นๆภายในบ้าน แยกอุปกรณ์ ของใช้
ไม่ปล่อยให้เที่ยวนอกบ้าน(เพราะอาจออกไปแพร่เชื้อให้แมวอื่นๆนอกบ้าน)
ควรทำหมันแมวเพื่อลดการติดต่อของโรค
จะป้องกันน้องแมวจากโรคนี้ได้อย่างไร : เลี้ยงแมวให้อยู่แต่ในบ้าน
เพื่อลดความเสี่ยงในการออกไปติดโรค ทำหมันเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว
เพื่อลดความเสี่ยงในการออกไปกัดกับแมวตัวอื่น ก่อนนำแมวตัวใหม่เข้ามาเลี้ยง
ควรตรวจให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีโรคนี้ติดมาด้วย
ถ้ามีแมวในบ้านเป็นโรคนี้ก็ต้องแยกเลี้ยงกับแมวตัวอื่นๆ
ทำวัคซีนป้องกันโรคลิวคิเมีย โดยสามารถเริ่มทำวัคซีนได้ในแมวที่มีอายุ 2
เดือนครึ่งขึ้นไป แต่ก่อนจะทำวัคซีนจะต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน
ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ ก็สามารถทำวัคซีนได้ค่ะ แต่ถ้าผลตรวจออกมาเป็นบวก
ให้รออีก 3-6 เดือนและตรวจซ้ำอีกครั้ง
ถ้าผลตรวจยังคงเป็นบวกก็ไม่แนะนำให้ทำวัคซีนค่ะ
โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 075-447775,083-8959865 ,ID line : cheng025 , www.bannmhakamaeo.com และ Facebook : หมอส้มเช้ง คลินิกบ้านหมากะแมว ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากสื่อรักสัตว์เลี้ยง และหนังสือโรคติดเชื้อที่สำคัญในสุนัขและแมวค่ะ
และภาพจาก www.hdwallpapersinn.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น