13 กรณีฉุกเฉินของสัตว์เลี้ยงที่เจ้าของควรพาไปหาหมอทันที
1.มีเลือดออกรุนแรงหรือเลือดไหลไม่หยุดภายใน 5 นาที
2.มีอาการสำลัก หายใจลำบากหรือไอ และอาเจียนตลอดเวลา
3.เลือดออกตามทวารต่างๆ เช่น เลือดออกจมูก เลือดออกปาก ไอเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด
4.ปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระไม่ออก โดยมีอาการปวดเบ่งอย่างรุนแรงร่วมด้วย
5.ได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บบริเวณดวงตา
6.สงสัยว่ากลืนกินสารพิษหรือสิ่งที่เป็นพิษเข้าไป เช่น ผงซักฟอก ยาเบื่อหนู ยาฆ่าแมลงหรือยารักษาโรคของคน
7.ชักหรือชักและมีอาการกระตุกร่วมด้วย
8.กระดูกหัก ขากะเผลกอย่างรุนแรง จนถึงเดินไม่ได้
9.มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือมีอาการกระวนกระวายมากอย่างเห็นได้ชัด
10.มีอาการหอบแดดหรือเป็นลมแดด
11.อาเจียนหรือท้องเสียรุนแรง
12.ไม่ยอมกินน้ำนาน 24 ชมหรือมากกว่า
13.หมดสติ ไม่รู้ตัว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สื่อรักสัตว์เลี้ยง
ขอคำปรึกษาและคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกบ้านหมากะแมว 075-447775,083-8959865 ID line:cheng025
www.bannmhakamaeo.com
โรงพยาบาลสัตว์บ้านหมากะแมว โรงพยาบาลสัตว์ของเราตั้งอยู่บน ถนนสะพานยาว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช เราให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคสุนัขและแมว ฉีดวัคซีนสุนัขและแมว ฉีดกำจัดเห็บหมัด ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจชิ้นเนื้องอก มะเร็งต่างๆ ผ่าตัดทำหมันทั่วไป ผ่าคลอด ผ่านิ่ว ผ่าเนื้องอกศัลยกรรมกระดูก วางยาสลบด้วยเครื่องดมยาสลบขูดหินปูนสุนัขและแมว ถ่ายเลือดเอ็กซเรย์ อัลตร้าซาวน์ อาบน้ำตัดขน กำจัดเห็บหมัดรับฝากเลี้ยง ฝากดูแลสัตว์ป่วย จำหน่ายอาหารและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง มีบริการนอกสถานที่
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557
เมื่อน้องแมวเป็นโรคติดเชื้อไวรัสมะเร็งเม็ดเลือดขาว
สาเหตุของโรค : โรคนี้เป็นโรคติดต่อในแมว หรือเรียกกันว่า ลิวคิเมียในแมว มีสาเหตุมาจากไวรัส ชื่อ Feline Leukemia Virus (FeLV) ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับไวรัสเอดส์แมวค่ะ (FIV) ไวรัสชนิดนี้ติดต่อเฉพาะในสัตว์ตระกูลแมวเท่านั้นค่ะ ดังนั้นไม่ต้องกังวลนะคะว่าจะติดคน (ทั้งเอดส์แมวและลิวคิเมียแมว ไม่ติดคนค่ะ)
การติดต่อ : ติดผ่านการกัดกัน ผ่านรก ผ่านน้ำนมจากแม่แมวไปสู่ลูกแมว ใช้ชามน้ำชามอาหารร่วมกัน เลียให้กัน ใช้สถานที่ขับถ่ายร่วมกัน
อาการของโรค : ซึม น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต ช่องปากอักเสบ ในบางตัวอาจมีไข้เรื้อรัง ในแมวที่ติดเชื้อพบการตายแรกคลอดและการแท้งสูงกว่าแมวปกติ บางตัวอาจมีอาการชัก เดินเซ อาจเกิดเนื้องอกตามส่วนต่างๆของร่างกาย มีภาวะโลหิตจาง ภาวะภูมิคุ้มกันถูกกดและติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวของเราติดโรค : วิธีการตรวจที่นิยม สะดวก รวดเร็ว คือการใช้ชุดตรวจสำเร็จรูปหาองค์ประกอบของเชื้อไวรัส ซึ่งทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก รอผลตรวจไม่นาน แต่มีข้อเสียคืออาจให้ผลลบลวง ในกรณีที่แมวกำลังป่วยอยู่ในระยะแฝง ดังนั้นกรณีตรวจออกมาแล้วให้ผลลบ ควรตรวจซ้ำอีกครั้งห่างจากครั้งแรกที่ 3-6 เดือน นอกจากนั้นการวินิจฉัยโรคยังต้องอาศัยผลเลือดอื่นๆและอาการทางคลินิกร่วม ด้วย
การดูแลแมวป่วย : ควรแยกเลี้ยงแมวป่วยจากแมวตัวอื่นๆภายในบ้าน แยกอุปกรณ์ ของใช้ ไม่ปล่อยให้เที่ยวนอกบ้าน(เพราะอาจออกไปแพร่เชื้อให้แมวอื่นๆนอกบ้าน) ควรทำหมันแมวเพื่อลดการติดต่อของโรค
จะป้องกันน้องแมวจากโรคนี้ได้อย่างไร : เลี้ยงแมวให้อยู่แต่ในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการออกไปติดโรค ทำหมันเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อลดความเสี่ยงในการออกไปกัดกับแมวตัวอื่น ก่อนนำแมวตัวใหม่เข้ามาเลี้ยง ควรตรวจให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีโรคนี้ติดมาด้วย ถ้ามีแมวในบ้านเป็นโรคนี้ก็ต้องแยกเลี้ยงกับแมวตัวอื่นๆ ทำวัคซีนป้องกันโรคลิวคิเมีย โดยสามารถเริ่มทำวัคซีนได้ในแมวที่มีอายุ 2 เดือนครึ่งขึ้นไป แต่ก่อนจะทำวัคซีนจะต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ ก็สามารถทำวัคซีนได้ค่ะ แต่ถ้าผลตรวจออกมาเป็นบวก ให้รออีก 3-6 เดือนและตรวจซ้ำอีกครั้ง ถ้าผลตรวจยังคงเป็นบวกก็ไม่แนะนำให้ทำวัคซีนค่ะ
โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 075-447775,083-8959865 ,ID line : cheng025 , www.bannmhakamaeo.com และ Facebook : หมอส้มเช้ง คลินิกบ้านหมากะแมว ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากสื่อรักสัตว์เลี้ยง และหนังสือโรคติดเชื้อที่สำคัญในสุนัขและแมวค่ะ
และภาพจาก www.hdwallpapersinn.com
สาเหตุของโรค : โรคนี้เป็นโรคติดต่อในแมว หรือเรียกกันว่า ลิวคิเมียในแมว มีสาเหตุมาจากไวรัส ชื่อ Feline Leukemia Virus (FeLV) ซึ่งเป็นไวรัสกลุ่มเดียวกับไวรัสเอดส์แมวค่ะ (FIV) ไวรัสชนิดนี้ติดต่อเฉพาะในสัตว์ตระกูลแมวเท่านั้นค่ะ ดังนั้นไม่ต้องกังวลนะคะว่าจะติดคน (ทั้งเอดส์แมวและลิวคิเมียแมว ไม่ติดคนค่ะ)
การติดต่อ : ติดผ่านการกัดกัน ผ่านรก ผ่านน้ำนมจากแม่แมวไปสู่ลูกแมว ใช้ชามน้ำชามอาหารร่วมกัน เลียให้กัน ใช้สถานที่ขับถ่ายร่วมกัน
อาการของโรค : ซึม น้ำหนักลด ต่อมน้ำเหลืองโต ช่องปากอักเสบ ในบางตัวอาจมีไข้เรื้อรัง ในแมวที่ติดเชื้อพบการตายแรกคลอดและการแท้งสูงกว่าแมวปกติ บางตัวอาจมีอาการชัก เดินเซ อาจเกิดเนื้องอกตามส่วนต่างๆของร่างกาย มีภาวะโลหิตจาง ภาวะภูมิคุ้มกันถูกกดและติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
จะรู้ได้อย่างไรว่าน้องแมวของเราติดโรค : วิธีการตรวจที่นิยม สะดวก รวดเร็ว คือการใช้ชุดตรวจสำเร็จรูปหาองค์ประกอบของเชื้อไวรัส ซึ่งทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก รอผลตรวจไม่นาน แต่มีข้อเสียคืออาจให้ผลลบลวง ในกรณีที่แมวกำลังป่วยอยู่ในระยะแฝง ดังนั้นกรณีตรวจออกมาแล้วให้ผลลบ ควรตรวจซ้ำอีกครั้งห่างจากครั้งแรกที่ 3-6 เดือน นอกจากนั้นการวินิจฉัยโรคยังต้องอาศัยผลเลือดอื่นๆและอาการทางคลินิกร่วม ด้วย
การดูแลแมวป่วย : ควรแยกเลี้ยงแมวป่วยจากแมวตัวอื่นๆภายในบ้าน แยกอุปกรณ์ ของใช้ ไม่ปล่อยให้เที่ยวนอกบ้าน(เพราะอาจออกไปแพร่เชื้อให้แมวอื่นๆนอกบ้าน) ควรทำหมันแมวเพื่อลดการติดต่อของโรค
จะป้องกันน้องแมวจากโรคนี้ได้อย่างไร : เลี้ยงแมวให้อยู่แต่ในบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการออกไปติดโรค ทำหมันเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว เพื่อลดความเสี่ยงในการออกไปกัดกับแมวตัวอื่น ก่อนนำแมวตัวใหม่เข้ามาเลี้ยง ควรตรวจให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีโรคนี้ติดมาด้วย ถ้ามีแมวในบ้านเป็นโรคนี้ก็ต้องแยกเลี้ยงกับแมวตัวอื่นๆ ทำวัคซีนป้องกันโรคลิวคิเมีย โดยสามารถเริ่มทำวัคซีนได้ในแมวที่มีอายุ 2 เดือนครึ่งขึ้นไป แต่ก่อนจะทำวัคซีนจะต้องทำการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน ถ้าผลตรวจออกมาเป็นลบ ก็สามารถทำวัคซีนได้ค่ะ แต่ถ้าผลตรวจออกมาเป็นบวก ให้รออีก 3-6 เดือนและตรวจซ้ำอีกครั้ง ถ้าผลตรวจยังคงเป็นบวกก็ไม่แนะนำให้ทำวัคซีนค่ะ
โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ดังนั้นการป้องกันเป็นสิ่งที่ดีที่สุดค่ะ
หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ โทร 075-447775,083-8959865 ,ID line : cheng025 , www.bannmhakamaeo.com และ Facebook : หมอส้มเช้ง คลินิกบ้านหมากะแมว ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจากสื่อรักสัตว์เลี้ยง และหนังสือโรคติดเชื้อที่สำคัญในสุนัขและแมวค่ะ
และภาพจาก www.hdwallpapersinn.com
5 โรคประจำวัยสุนัขชราที่เจ้าของควรรู้
สุนัขชราหมายถึง สุนัขที่มีอายุ 6- 7 ปีขึ้นไปค่ะ วันนี้หมอจะมาให้ความรู้ว่ามีโรคอะไรบ้างที่มักจะพบในสุนัขสูงวัย ซึ่งคุณเจ้าของน้องหมาทุกท่านจะได้ระมัดระวัง คอยสังเกตสุนัขเมื่อวัยชรามาถึงค่ะ
1.โรคข้อเสื่อม : โรคนี้เกิดจากข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก เสื่อมลงตามอายุ ส่งผลให้น้องหมาปวดตามข้อ มีอาการขากะเผลกหรือเดินไม่ได้เพราะความปวด เพื่อเป็นการป้องกันโรคนี้ จึงควรดูแลน้องหมาของเราอย่าให้อ้วน เพราะน้ำหนักที่เกินจะทำให้ข้อต่างๆต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไป ส่งผลให้ข้ออักเสบหรือเสื่อมตามมาได้ พันธุ์ที่พบได้บ่อย เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ และเยอรมันเชพเพอด
2.โรคฟันและโรคเหงือก : สุนัขชรามักมีปัญหาในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ ฟันมีหินปูนเกาะและโรคเหงือกอักเสบ
3.โรคอ้วน : เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ร่วมกันการที่เจ้าของไม่ได้ดูแลจัดการเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย ส่งผลให้สุนัขชราส่วนใหญ่เป็นโรคอ้วน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคข้อเสื่อม เบาหวาน โรคหัวใจ
4.โรคไทรอยด์ต่ำ : พบได้บ่อยในสุนัขชรา ซึ่งภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำจะส่งผลกับระบบอื่นๆของร่างกาย เช่น ระบบผิวหนัง ระบบหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์และระบบประสาท
5.โรคมะเร็ง : ปัจจุบันสุนัขชราจำนวนมากป่วยด้วยโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งเต้านม มะเร็งกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งการตรวจพบตั้งแต่เริ่มต้น เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การรักษาประสบความสำเร็จค่ะ
สุนัขชราควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีล่ะ 2 ครั้งนะคะ เพราะหากเกิดปัญหาใดๆจะได้สามารถแก้ไขได้ทันค่ะ นอกจากนั้นอย่าลืมให้อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหนืออื่นใดอย่าลืมให้ความรักและการเอาใจใส่น้องหมาของเรานะคะ
หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถโทรสอบถามได้ที่ 083-8959865 , 075-447775 , ID line cheng025 ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือสื่อรักสัตว์เลี้ยงค่ะ
สุนัขชราหมายถึง สุนัขที่มีอายุ 6- 7 ปีขึ้นไปค่ะ วันนี้หมอจะมาให้ความรู้ว่ามีโรคอะไรบ้างที่มักจะพบในสุนัขสูงวัย ซึ่งคุณเจ้าของน้องหมาทุกท่านจะได้ระมัดระวัง คอยสังเกตสุนัขเมื่อวัยชรามาถึงค่ะ
1.โรคข้อเสื่อม : โรคนี้เกิดจากข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก เสื่อมลงตามอายุ ส่งผลให้น้องหมาปวดตามข้อ มีอาการขากะเผลกหรือเดินไม่ได้เพราะความปวด เพื่อเป็นการป้องกันโรคนี้ จึงควรดูแลน้องหมาของเราอย่าให้อ้วน เพราะน้ำหนักที่เกินจะทำให้ข้อต่างๆต้องรับน้ำหนักที่มากเกินไป ส่งผลให้ข้ออักเสบหรือเสื่อมตามมาได้ พันธุ์ที่พบได้บ่อย เช่น โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ และเยอรมันเชพเพอด
2.โรคฟันและโรคเหงือก : สุนัขชรามักมีปัญหาในช่องปาก เช่น โรคฟันผุ ฟันมีหินปูนเกาะและโรคเหงือกอักเสบ
3.โรคอ้วน : เมื่อสุนัขอายุมากขึ้น ร่วมกันการที่เจ้าของไม่ได้ดูแลจัดการเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย ส่งผลให้สุนัขชราส่วนใหญ่เป็นโรคอ้วน ซึ่งส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคข้อเสื่อม เบาหวาน โรคหัวใจ
4.โรคไทรอยด์ต่ำ : พบได้บ่อยในสุนัขชรา ซึ่งภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำจะส่งผลกับระบบอื่นๆของร่างกาย เช่น ระบบผิวหนัง ระบบหัวใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์และระบบประสาท
5.โรคมะเร็ง : ปัจจุบันสุนัขชราจำนวนมากป่วยด้วยโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งเต้านม มะเร็งกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งการตรวจพบตั้งแต่เริ่มต้น เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้การรักษาประสบความสำเร็จค่ะ
สุนัขชราควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีล่ะ 2 ครั้งนะคะ เพราะหากเกิดปัญหาใดๆจะได้สามารถแก้ไขได้ทันค่ะ นอกจากนั้นอย่าลืมให้อาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ออกกำลังกายอย่างถูกต้อง และเหนืออื่นใดอย่าลืมให้ความรักและการเอาใจใส่น้องหมาของเรานะคะ
หากต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมสามารถโทรสอบถามได้ที่ 083-8959865 , 075-447775 , ID line cheng025 ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก หนังสือสื่อรักสัตว์เลี้ยงค่ะ
วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557
"หมอคะถ้าหมาโดนงูกัดเราจะปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไร"
เบื้องต้นต้องทราบก่อนว่าหากสุนัขโดนงูกัด อาการผิดปกติอาจจะแสดงให้เห็นตั้งแต่ 10 นาทีแรก ไปจนถึงโดนกัดไป 4 วันแล้วค่อยแสดงอาการก็ได้...ค่ะ ส่วนน้องแมว จะแสดงอาการผิดปกติหลังโดนกัดประมาณครึ่งวันหรือวันกว่าๆไปแล้ว ดังนั้นการที่สุนัขและแมวโดนกัดแล้วไม่มีอาการก็อย่าเพิ่งวางใจนะคะ ถ้าสุนัขและแมวถูกงูกัดจะทำอย่างไรดี
1.ให้สัตว์อยู่ในสภาวะที่สงบที่สุด ถ้ายิ่งขยับมากพิษจะยิ่งกระจายเร็วค่ะ
2.ถ้าโดนกัดที่ขา ให้ใช้ผ้ารัดเหนือแผลไว้
3.ไม่ต้องล้างแผล เพราะการล้างจะยิ่งเร่งให้พิษเข้ากระแสเลือด
4.ห้ามใช้น้ำแข็งประคบแผล เพราะจะทำให้ปากแผลไหม้และติดเชื้อได้
5.อย่าเอาปากดูดพิษ เพราะเจ้าของอาจได้รับพิษได้ค่ะ
6.รีบพาสุนัขไปคลินิกหรือโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดค่ะ
ข้อสำคัญเจ้าของควรทราบว่างูที่กัดเป็นงูอะไร หากไม่รู้จักก็ควรจดจำลักษณะงูไปแจ้งหมอค่ะ เพราะเวลาให้เซรุ่มรักษาต้องให้เซรุ่มจำเพาะ หากเป็นงูไม่มีพิษก็ยังต้องพาไปหาหมอนะคะ เพราะรอยกัดจากงู อาจทำให้บริเวณแผลที่โดนงูกัดติดเชื้อได้ ซึ่งสุนัขจำเป็นจะต้องได้รับปฏิชีวนะด้วยค่ะ
โรงพยาบาลสัตว์ของเราตั้งอยู่บน ถนนสะพานยาว
อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
ติดต่อเราได้ที่
โทร
083-8959865 ,
075-447775
Facebook : คลินิกบ้านหมากะแมว
เปิดบริการ จันทร์ - เสาร์ 9.00 - 20.00 น
โทร
083-8959865 ,
075-447775
![](chrome-extension://lifbcibllhkdhoafpjfnlhfpfgnpldfl/call_skype_logo.png)
![](chrome-extension://lifbcibllhkdhoafpjfnlhfpfgnpldfl/call_skype_logo.png)
Facebook : คลินิกบ้านหมากะแมว
เปิดบริการ จันทร์ - เสาร์ 9.00 - 20.00 น
ป้ายกำกับ:
รักษาสัตว์ หมาโดนงูกัด
ตำแหน่ง:
Nakhon Si Thammarat, Thailand
คลินิกรักษาสัตว์ คลินิกบ้านหมากะแมว ให้บริการรักษาสัตว์
โรงพยาบาลสัตว์บ้านหมากะแมว
โรงพยาบาลสัตว์ของเราตั้งอยู่บน ถนนสะพานยาว อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
เราให้บริการตรวจวินิจฉัย รักษาโรคสุนัขและแมว
ฉีดวัคซีนสุนัขและแมว ฉีดกำจัดเห็บหมัด
ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจชิ้นเนื้องอก มะเร็งต่างๆ
ผ่าตัดทำหมันทั่วไป ผ่าคลอด ผ่านิ่ว ผ่าเนื้องอก
ศัลยกรรมกระดูก วางยาสลบด้วยเครื่องดมยาสลบ
ขูดหินปูนสุนัขและแมว ถ่ายเลือด
เอ็กซเรย์ อัลตร้าซาวน์
อาบน้ำตัดขน กำจัดเห็บหมัด
รับฝากเลี้ยง ฝากดูแลสัตว์ป่วย
จำหน่ายอาหารและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง
มีบริการนอกสถานที่
ติดต่อเราได้ที่
โทร 083-8959865 ,075-447775
Facebook : คลินิกบ้านหมากะแมว
เปิดบริการ จันทร์ - เสาร์ 9.00 - 20.00 น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)