"มารู้จักมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมวกันเถอะ"
ช่วงที่ผ่านมามีแมวหลายๆตัวทีป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
และเป็นเรื่องที่เจ้าของทำใจได้ยากยิ่งเมื่อบางตัวมาหาหมอในสภาวะที่เกินจะเยียวยาและต้องเสียชีวิตลง
ในขณะที่บางตัวมาเร็วก็ยังมีชีวิตอยู่และประคับประคองดูแลกันไป
แต่คำถามที่ตามมาคือ
โรคนี้คืออะไร?
ติดต่อได้อย่างไร?
เมื่อเป็นแล้วจะทำยังไงต่อไป?
แล้วตัวอื่นๆในบ้านจะทำยังไงดี ??
บลา บลา .........
ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ^^
สาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแมว
โรคนี้เป็นโรคติดต่อในแมว มีชื่อว่า Feline Leukemia Virus (FeLV) โดยจะติดต่อเฉพาะในสัตว์ตระกูลแมวเท่านั้น ไม่ติดคนค่ะ^^
การติดต่อของโรค
ติดต่อผ่านการกัดกัน ผ่านรก ติดจากน้ำนมจากแม่สู่ลูก ติดผ่านน้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะอุจจาระค่ะ
อาการที่พบได้
อาการที่พบได้จะมีลักษณะแตกต่างกันไป ขึ้นกับระยะของโรคและปริมาณการเพิ่มจำนวนของไวรัสค่ะ
อาการที่พบ เช่น
• ซึม ซีด น้ำหนักลด ไม่กินอาหาร ต่อมน้ำเหลืองโต ช่องปากอักเสบ บางตัวอาจมีไข้เรื้อรัง
• ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง ทำให้ติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
• แม่แมวที่ติดเชื้อ อาจแท้งลูกและพบลูกตายแรกคลอดสูงกว่าแมวปกติ(ลูกแมวอาจเสียชีวิตหลังคลอดได้ 1-2 สัปดาห์)
• มีอาการทางระบบประสาท ชัก เดินเซ
• อาจพบเนื้องอกตามส่วนต่างๆของร่างกาย
จะรู้ได้อย่างไรว่าแมวเราติดเชื้อ FeLV รึเปล่า
วิธีตรวจที่นิยมคือ การใช้ชุดตรวจสำเร็จรูปตรวจหาองค์ประกอบของเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นวิธีที่ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก และรอผลตรวจไม่นาน
แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ อาจเกิดผลลบลวง ในกรณีที่ แมวป่วยอยู่ในระยะแฝง(ทั้งที่เป็นโรคแต่ตรวจหาเชื้อไม่เจอ)
ดังนั้นสัตวแพทย์จะใช้การตรวจอื่นๆประวัติและอาการในการวินิจฉัยร่วมด้วย และควรตรวจซ้ำหลังจากตรวจครั้งแรกที่ 2-3 เดือนอีกครั้งนึงค่ะ
การดูแลแมวที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
• ควรแยกแมวตัวที่ป่วยออกจากแมวตัวอื่นๆ รวมถึงอุปกรณ์กระบะทรายต่างๆ นอกจากนั้นไม่ควรปล่อยแมวป่วยออกไปนอกบ้าน เพื่อลดการติดเชื้ออื่นๆแทรกซ้อน รวมถึงลดการแพร่เชื้อไปยังแมวตัวอื่นๆด้วยค่ะ
• ควรทำหมันแมวเพื่อลดการติดต่อของโรค
• พาไปพบสัตวแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
จะป้องกันไม่ให้น้องแมวติดไวรัสนี้ได้อย่างไร
• ควรเลี้ยงแมวให้อยู่แต่ในบ้าน เพื่อลดการติดเชื้อไวรัสนี้จากแมวตัวอื่น
• ทำหมัน เพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าว ที่อาจทำให้เกิดการกัดกันกับแมวตัวอื่น
• ก่อนนำแมวตัวใหม่เข้ามาเลี้ยงควรทำการตรวจให้แน่ใจก่อนว่าไม่มีโรคนี้อยู่
• หากพบแมวที่เป็นโรคนี้ในบ้านต้องเลี้ยงแยกกับแมวตัวอื่น
• ควรทำวัคซีนป้องกันโรคลิวคิเมีย ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ โดยสามารถทำได้ตั้งแต่แมวอายุ 2 เดือนครึ่งขึ้นไป
ก่อนทำวัคซีนควรตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน
ถ้าผลการตรวจเป็นลบ ก็เริ่มทำวัคซีนได้
แต่ถ้าผลเป็นบวก ให้รออีก 2-3 เดือนและตรวจซ้ำอีกที ถ้าผลตรวจยังเป็นบวก ก็ไม่แนะนำให้ทำวัคซีนค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สื่อรักสัตว์เลี้ยงค่ะ
❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️❤️
โรงพยาบาลสัตว์บ้านหมากะแมว
ตรวจวินิจฉัยโรคสุนัขและแมว
ฉีดวัคซีนสุนัขและแมว ฉีดกำจัดเห็บหมัด
ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจเซลล์เนื้องอกและมะเร็ง
ผ่าตัดทำหมัน ผ่าคลอด ผ่านิ่ว ผ่าเนื้องอก
ศัลยกรรมกระดูก วางยาสลบด้วยเครื่องดมยาสลบ
ขูดหินปูนสุนัขและแมว ถ่ายเลือด
เอ็กซเรย์ดิจิตัล อัลตร้าซาวน์
ตรวจวัดความดันตาด้วยเครื่องวัดความดันตา
ฝากเลี้ยง ฝากดูแลสุนัขและแมวป่วย โรงแรมแมว
จำหน่ายอาหารประกอบการรักษาโรค
จำหน่ายอาหารและอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง
มีรถพยาบาล บริการนอกสถานที่
ถ.สะพานยาว เทศบาลนครศรีธรรมราช
เปิดบริการทุกวัน 9.00 - 20.00 น. ทุกวัน
มีสัตวแพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ประจำการทุกวัน
โทร 099-8249565 , 062-9646165
Id line : cheng025
www.bannmhakamaeo.com